คำอธิบาย
TEMPLATE KPI
คู่มือเอกสาร KPI สำหรับองค์กรทุกระดับ
Key Performance Indicators หรือตัวชี้วัดความสำเร็จของงานเป็นเครื่องมือที่ช่วยวัดผลการดำเนินงานขององค์กรหรือหน่วยงานโดยวัดจากปัจจัยสำคัญที่กำหนดไว้ล่วงหน้า KPI ที่ดีควรมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมสามารถวัดผลได้ และมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเป้าหมายขององค์กร
KPI สำคัญสำหรับทุกฝ่ายในองค์กร
ทุกฝ่ายในองค์กรต่างมีบทบาทหน้าที่ และเป้าหมายในการทำงานแตกต่างกันดังนั้น KPI ของแต่ละฝ่ายจึงแตกต่างกันไปด้วย KPI ที่ดีควรช่วยให้ฝ่ายต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ประโยชน์ของ KPI
✅ KPI มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถติดตามความคืบหน้าของเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
✅ KPI ที่ดีจะช่วยให้องค์กรสามารถระบุถึงจุดอ่อน และจุดแข็งของพนักงานแต่ละฝ่ายในการดำเนินงานสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้
ประเภทของ KPI
KPI แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
– KPI เชิงปริมาณ (Quantitative KPI)
เป็น KPI ที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน เช่น ยอดขาย กำไร จำนวนลูกค้า เป็นต้น
– KPI เชิงคุณภาพ (Qualitative KPI)
เป็น KPI ที่สามารถวัดผลได้ยากกว่า เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า ความภักดีต่อแบรนด์ เป็นต้น
หากคุณมองหา TEMPLATE KPI
TMPLATE KPI ของเรารองรับกับ 6 ฝ่ายได้แก่
1.ฝ่ายการตลาด
2.ฝ่ายขาย
3.ฝ่ายคลังสินค้า
4.ฝ่ายจัดซื้อ
5.ฝ่ายบัญชี และการเงิน
6.ฝ่ายบุคคล
KPI แต่ละฝ่าย
TEMPLATE KPI วัดจากอะไรได้บ้าง ?
KPI ฝ่ายขาย
ฝ่ายขายเป็นฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า KPI ฝ่ายขาย
มักวัดผลจากปริมาณการขายรายได้จากการขาย อัตราการปิดการขาย และอัตราการเพิ่มยอดขาย
KPI ฝ่ายการตลาด
ฝ่ายการตลาดเป็นฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผน และดำเนินกิจกรรมต่างๆมักวัดผลจากจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์จำนวนการแชร์คอนเทนต์ และจำนวนการพูดถึงแบรนด์
KPI ฝ่ายคลังสินค้า
KPI ของฝ่ายคลังสินค้าจึงมักวัดงานผลจาก
ประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น ระยะเวลาในการจัดเก็บสินค้าระยะเวลาในการจัดส่งสินค้า
และความถูกต้องของข้อมูล
KPI ฝ่ายจัดซื้อ
ฝ่ายจัดซื้อเป็นฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการซื้อวัตถุดิบหรือสินค้ามาเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตหรือขาย KPI ของฝ่ายจัดซื้อจึงมักวัดผลจากค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนสินค้า
KPI ฝ่ายบัญชี และการเงิน
ฝ่ายบัญชี และการเงินเป็นฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลด้านการเงินขององค์กร KPI
จึงมักวัดผลจากสถานะทางการเงินเช่นรายได้กำไร กระแสเงินสด
KPI ฝ่ายบุคคล
KPIของฝ่ายบุคคลจึงมักวัดผลจากประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน เช่น อัตราการลาออก อัตราการมาทำงานสาย และอัตราการบาดเจ็บในการทำงาน
TEMPLATE KPI 6 ฝ่าย
มีคู่มือและเอกสารมากถึง 50 เอกสาร
กำหนดเป้าหมายในการทำงานให้กับลูกค้า ลูกค้าสามารถเลือกตัวชี้วัดที่ต้องการได้
และนอกจานั้นเราจะมอบ Template KPI ให้ลูกค้าสามารถนำไปใช้งานได้ทันที
Action Plan KPI
1 . ฝ่ายขาย
1.1 ยอดขาย (บาท)
1.2 จำนวนการครั้งที่มีการให้บริการ (ให้บริการ, ตอบข้อความ, รับสาย, โทรออก) --- (นับตัวเลขจากระบบที่น่าเชื่อถือ)
1.3 อัตราการปิดการขาย (ให้บริการ, ตอบข้อความ, รับสาย, โทรออก) --- (จำนวนการปิดการขาย / จำนวนการให้บริการ)
ตัวชี้วัด KPI-CRM-001 : ปริมาณการโทรหาลูกค้าในแต่ละวัน
ตัวชี้วัด KPI-CRM-002 : อัตราการติดต่อลูกค้าตามแผนการติดต่อที่กำหนด
ตัวชี้วัด KPI-CRM-003 : อัตราการตอบสนองของลูกค้าต่อการติดต่อจากฝ่าย CRM
ตัวชี้วัด KPI-CRM-004 : อัตราของลูกค้าที่มีข้อมูลสมบูรณ์และที่อัพเดตล่าสุดในระบบ CRM
ตัวชี้วัด KPI-CRM-005 : อัตราของข้อมูลลูกค้าที่ได้รับการใช้ในกิจกรรมการขาย
ตัวชี้วัด KPI-CRM-006 : อัตราการขายสินค้าหรือบริการใหม่ให้กับลูกค้าที่มีอยู่แล้ว (Up-selling & Cross-selling)
ตัวชี้วัด KPI-CRM-007 : อัตราการบันทึกและอัพเดตข้อมูลลูกค้าในระบบ CRM
ตัวชี้วัด KPI-CRM-008 : อัตราการเพิ่มลูกค้าซื้อซ้ำ (Customer Retention Rate)
ตัวชี้วัด KPI-CRM-009 : อัตราการแก้ไขปัญหาและร้องเรียนของลูกค้าในระยะเวลาที่กำหนด
ตัวชี้วัด KPI-CRM-010 : อัตราเฉลี่ยระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาและร้องเรียนของลูกค้า
ตัวชี้วัด KPI-CRM-011 : อัตราความพึงพอใจของลูกค้าต่อการบริการของฝ่าย CRM (Customer Satisfaction Score)
ตัวชี้วัด KPI-CRM-012 : ร้อยละของการนำข้อมูลจากระบบ CRM ไปใช้ในการวิเคราะห์และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
ตัวชี้วัด KPI-CRM-013 : จำนวนลูกค้ารายใหม่ ที่มาจากการ Refer ของลูกค้าเก่า
2 . ฝ่ายการตลาด
2.1 จำนวนการมีส่วนร่วมทุกช่องทาง (Engagement) --- นับจากข้อมูลในระบบ
2.2 อัตราการแปลงผู้ติดตามเป็นลูกค้า (Conversion Rate)--- จำนวนลูกค้าที่เปิดบิล / จำนวนลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาทุกช่องทาง
2.3 ประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณโฆษณา (Ads Cost Efficiency) --- ยอดขาย / ค่าโฆษณาทั้งหมด
2.4 อัตราการทำงานที่สำเร็จ--- (จำนวนงานที่ทำสำเร็จ / จำนวนงานที่ได้รับมอบหมายทั้งหมด)
2.5 จำนวนการทำงานที่สำเร็จ--- (นับจำนวนงานที่ทำสำเร็จ)
2.6 อัตราการส่งรายงานการทำงานที่ตรงเวลา--- (นับจำนวนงานที่ส่งตรงเวลา / จำนวนการส่งงานทั้งหมด)
3 . ฝ่ายบุคคล
3.1 ผลิตภาพด้านพนักงาน--- (กำไรดำเนินงาน / จำนวนพนักงาน)
3.2 ระยะเวลาในการสรรหาพนักงาน--- (จำนวนวันที่ใช้ในการสรรหาพนักงานเข้าทำงาน)
3.3 พนักงานมีความรู้ในการปฏิบัติงานในตำแหน่งงาน--- (สอบประเมินผลความรู้การปฏิบัติงานที่งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ)
4 . ฝ่ายคลังสินค้า
4.1 ความถูกต้องในการจัดเก็บ--- (จำนวนความถูกต้องในการจัดเก็บ/จำนวนสินค้าที่จัดเก็บทั้งหมด)
4.2 ความเสียหายในการจัดเก็บสินค้า--- (ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากความเสียหายในการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า)
4.3 จำนวนครั้งที่มีการเตรียมสินค้าผิดพลาด--- (จำนวนครั้งที่มีการจัดเตรียมสินค้าผิดพลาด ในช่วงเวลาที่กำหนด)
5 . ฝ่ายจัดซื้อ
5.1 ความผิดพลาดในการจัดซื้อสินค้า 3 ครั้ง / เดือน
5.2 ระยะเวลาในการสั่งสินค้า ภายในประเทศ 15 วัน และต่างประเทศ 30 วัน
5.3 การออก PR/PO ตรงกำหนดเวลา
6 . ฝ่ายบัญชีและการเงิน
6.1 ความผิดพลาดในการจัดทำเอกสาร 1 ครั้ง / เดือน
6.2 จำนวนครั้งที่ทำรายงานงบการเงินไม่ทันเวลา
6.3 อัตราการตรวจสอบรายจ่ายที่ครบถ้วน--- (จำนวนการลงบันทึกรายจ่าย / จำนวนการโอนออกที่ปรากฎตาม Statement)
ตัวอย่างเอกสาร KPI บางส่วน
Action Plan
เครื่องมือช่วยบรรลุ KPI
Action Plan เป็นแผนปฏิบัติการที่ระบุขั้นตอนต่างๆ ที่จำเป็นในการบรรลุ
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไป Action Plan จะประกอบด้วยหัวข้อหลักๆ ดังนี้
- เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
- ขั้นตอนหรือกิจกรรม
- ทรัพยากรที่จำเป็น
- ระยะเวลา
- ผู้รับผิดชอบ
ความสัมพันธ์ระหว่าง
Action Plan และ KPI
Action Plan และ KPI ต่างก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการวัดผลการดำเนินงานขององค์กร แต่มีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
- KPI มุ่งเน้นไปที่การวัดผลลัพธ์หรือความสำเร็จขององค์กร
- Action Plan มุ่งเน้นไปที่การกำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมที่จำเป็นในการบรรลุ KPI
ดังนั้น Action Plan จึงมีความสำคัญต่อ KPI เนื่องจากช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดแนวทางและขั้นตอนต่างๆ ที่จำเป็นในการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ตัวอย่างเอกสาร Action Plan KPI บางส่วน
TEMPLATE KPI
✅สามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงาน ตามตัวชี้วัด KPI
✅สามารถทราบ Action Plan
✅ ได้รับ คู่มือ และเอกสาร Template KPI
ราคา 5,350 บาท
(รวม VAT แล้ว)
คุณจะได้รับแบบฟอร์มเอกสาร จัดส่งให้ทาง E-Mail ภายใน 24 ชั่วโมง
✔️ร่างโดยผู้เชี่ยวชาญ ✔️ประหยัดเงินได้เป็นแสน ✔️เอกสารใช้งานได้จริง